ประวัติความเป็นมา:
ปี พ.ศ. 2507 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสกลนคร เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2507
ปี พ.ศ. 2513 ยกฐานะจากโรงเรียนฝึกหัดครูสกลนคร เป็น “วิทยาลัยครู” เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2513 วิทยาลัยครูสกลนคร ได้มีประกาศจัดตั้งหน่วยประเคราะห์ทางด้านวัฒนธรรมขึ้น
ปี พ.ศ. 2518 มีประกาศพระราชบัญญัติครูซึ่งได้กำหนดบทบาทภาระหน้าที่ของวิทยาลัยครูไว้ 5 ข้อด้วยกัน ข้อหนึ่งในจำนวน 5 ข้อนี้ ได้กำหนดให้วิทยาลัยครูปฏิบัติหน้าที่ “ส่งเสริมและเผยแพร่ทางวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ” และได้จัดงาน “มูนมังอีสาน” ขึ้นเป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2520 – 2522 วิทยาลัยครูสกลนคร ในฐานะเป็นหน่วยประเคราะห์ด้านวัฒนธรรม ได้รับเงินอุดหนุนการดำเนินงานจากกองวัฒนธรรม กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการโดยมีหน้าที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่วัฒนธรรม
ปี พ.ศ. 2523 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีนโยบายให้จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดขึ้นในโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัด ดังนั้น วิทยาลัยครูสกลนคร จึงมีภาระหน้าที่ในฐานะเป็น “ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร”
ปี พ.ศ. 2524 ได้เปลี่ยนชื่อจากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเป็น “ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม”
ปี พ.ศ. 2542 สถาบันราชภัฏสกลนคร ได้เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานของสถาบันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ในการนี้ได้เปลี่ยนจากคำว่า “ศูนย์” เป็นคำว่า “สำนัก” ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 สำนัก คือ สำนักกิจการนักศึกษา สำนักวางแผนและพัฒนา สำนักวิจัยและบริการวิชาการ สำนักส่งเสริมวิชาการ และสำนักศิลปวัฒนธรรม
ปี พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏทั่วประเทศได้รับการยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และได้เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารมหาวิทยาลัยใหม่อีกครั้ง โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 11 ส่วนราชการ ประกอบด้วย คณะ 6 คณะ และสำนัก สถาบัน 5 สำนัก สถาบัน ซึ่งสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เป็นส่วนราชการหนึ่งในจำนวน 11 ส่วนราชการดังกล่าว และมีงานที่รับผิดชอบ 4 งาน ดังนี้ 1) งานบริหารทั่วไป ประกอบด้วย งานสำนักงานและงานประกันคุณภาพ 2) งานวิชาการและงานวิจัยทางวัฒนธรรม 3) งานอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 4) งานศึกษา ฝึกอบรมทางภาษาและวิเทศสัมพันธ์ ประกอบด้วย งานศึกษาและฝึกอบรมทางภาษา รับผิดชอบศูนย์ภาษา ศูนย์ประสานงานชาวต่างชาติ งานวิเทศสัมพันธ์และงานอาเซียนและอาณาบริเวณศึกษา ได้แก่ ศูนย์เวียดนามศึกษาศูนย์ลาวศึกษา ศูนย์จีนศึกษา
ประวัติและการก่อตั้งศูนย์ต่าง ๆ ดังนี้
1. ศูนย์ภาษา (LANGUAGE CENTER) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 ในระยะแรกของการก่อตั้งนั้น ศูนย์ภาษาเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับสำนักงานอธิการบดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรใหม่ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ ดังนั้น ศูนย์ภาษาจึงเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริลักษณ์ ศรีพระจันทร์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ภาษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึงปีปัจจุบัน สำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารศูนย์ภาษา ชั้น 3 โทรศัพท์ 042 970037 (ภายใน) 323
2. ศูนย์เวียดนามศึกษา (VIETNAM STUDIES CENTER) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 เป็นหน่วยงานในสังกัดฝ่ายกิจการพิเศษ เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2544 เป็นต้นมา เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสาร และสาระความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวัฒนธรรม ของ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารศูนย์ภาษา และศูนย์คอมพิวเตอร์ ชั้น 2 โทรศัพท์ 042970037(ภายใน) 235
3. ศูนย์จีนศึกษา (CHINESE STUDIES CENTER) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 โดยได้รับการอนุมัติในการก่อตั้ง และงบประมาณจากมหาวิทยาลัย สำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารศูนย์ภาษา และศูนย์คอมพิวเตอร์ ชั้น 2 ติดกับศูนย์เวียดนามศึกษา และศูนย์ภาษา
4. ศูนย์ลาวศึกษา (LAOS STUDIES CENTER) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคม 2549 โดยมีเหตุการณ์เกี่ยวข้อง 3 ประการ คือ ประการแรก มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับวิทยาลัยส้างครู แขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยมีกิจกรรม เช่น คณะผู้บริหาร นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์ ที่ปรึกษาอธิการบดีพร้อมด้วยสำนักวิทยบริการ (เดิม) ได้ไปบริจาคและจัดห้องสมุดให้แก่วิทยาลัยส้างครู ทั้งยังเปิดรับนักศึกษาทุนระดับปริญญาตรี และปริญญาโทให้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นต้น
ประการที่ 2 ในคราวที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเดือนตุลาคม 2548 นายปัญญา มหาชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้นำคณะไปถวายการรับเสด็จที่สนามบินค่ายกฤษณ์ สีวะรา จังหวัดสกลนคร พระองค์ได้ตรัสถามอธิการบดีถึงโครงการความร่วมมือกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและทรงแนะนำมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครให้ความร่วมมือด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เป้าหมายในระยะ 2 ปีแรก ศูนย์ลาวศึกษาได้ดำเนินการรวบรวมเอกสาร ตำรา ข้อมูล ด้าน ต่าง ๆ ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งวัตถุทางอัตลักษณ์ จากนั้นจึงได้ดำเนินการอบรมภาษาลาว ตลอดจนการศึกษาค้นคว้า การวิจัย การแลกเปลี่ยนบุคลากร และการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมต่อไป
5. ศูนย์ประสานงานนักศึกษาต่างชาติ (INTERNATIONAL STUDENTS SERVICE CENTER) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2551 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ร่วมกับสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้ประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับนักศึกษาชาวต่างชาติ เช่น นักศึกษาเวียดนาม นักศึกษาลาว มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องมีสถานที่ในการติดต่อสื่อสารให้เด่นชัด สามารถให้คำตอบสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติได้ ในโอกาสนี้จากอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (นายปัญญา มหาชัย) ได้ให้นโยบายโดยมอบหมายให้สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานนักศึกษาต่างชาติ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้คาแนะนา ให้คำตอบ ให้คำปรึกษา ได้รวดเร็วสะดวกมากยิ่งขึ้น สำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารศูนย์ภาษา และศูนย์คอมพิวเตอร์ ชั้น 3 ติดกับศูนย์เวียดนามศึกษา และศูนย์ภาษา
ทำเนียบผู้บริหารสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
การดำรงตำแหน่ง | ชื่อ – สกุล | ตำแหน่งบริหาร | |
พ.ศ.2523 – 2527 | ผศ.ประยุทธ กุยสาคร | ประธานศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด | |
พ.ศ.2542 – 2546
|
ผศ.สุรัตน์ วรางค์รัตน์ | รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม | |
ผศ.แจ่มจันทร์ สุวรรณรงค์ | ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรม | ||
พ.ศ.2547 – 2550
|
ผศ.แจ่มจันทร์ สุวรรณรงค์ | รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม | |
นายรัฐพล ฤทธิธรรม | ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม | ||
พ.ศ.2551 – 2552
|
ผศ.พิศิษฐ์ แสงวงศ์ | รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและกิจการพิเศษ | |
นายรัฐพล ฤทธิธรรม | ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม | ||
พ.ศ.2552 – 2556
|
ผศ.ดร.วัฒนา
สุวรรณไตรย์ |
รองอธิการบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ | |
ผศ.อนุรัตน์ สายทอง | ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม | ||
พ.ศ.2556 – 2560 | ดร.สพสันติ์ เพชรคำ | ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม | |
พ.ศ.2560 – 2561 | นายประสิทธิ์ คะเลรัมย์ | ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม | |
พ.ศ.2560– ปัจจุบัน | ผศ.ศิริลักษณ์ ศรีพระจันทร์ | ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายภาษา และวิเทศสัมพันธ์ | |
พ.ศ.2561– ปัจจุบัน | นายสุรสิทธิ์ อุ้ยปัดฌาวงศ์ | ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม | |
2565- ปัจจุบัน | ดร.พสุธา โกมลมาลย์ | ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม |